ในประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่มีประชากรมุสลิมเป็นประชากรส่วน
ใหญ่ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในภูมิหลังในการเข้ามาของอิสลาม โดยอาณาจักรมะละกา ดินแดนส่วนหนึ่งในประเทศ
มาเลเซียเป็นรัฐโบราณ รัฐแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเอาอิสลามขึ้นมาเป็นศาสนาประจำรัฐ และมีอิทธิพลภายในราชสำนักของอาณาจักรมะละกอภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 1957 มาเลเซียได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของมาเลเซียให้เป็นไปตาม ระบอบของอิสลาม ความพยายามเหล่านี้เริ่มเด่นชัดในช่วงทศวรรษ 1970 หรือชื่อเรียกปรากฏการณ์ในครั้งนั้นกันอย่างทั่วไปว่า การเคลื่อนไหวในการเชิญชวน (หรือว่าปรากฏการณ์ดะวะฮ) เป็นช่วงเวลาที่การทำงาน การเผยแพร่อิสลามมีการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น จากปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ เกิดจากเหตุการณ์วิกฤติน้ำมัน จากการที่ชาติอาหรับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีมติในการลดการส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีมูลค่าที่สูงขึ้นและได้สร้างความมั่งคั่งให้ ผู้ส่งออกน้ำมัน ผลตามมาหลังจากนั้นคือ การให้การสนับสนุนจากชาติอาหรับเกี่ยวกับกิจการทางศาสนา และการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในประเทศตะวันออกกลาง
ใหญ่ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในภูมิหลังในการเข้ามาของอิสลาม โดยอาณาจักรมะละกา ดินแดนส่วนหนึ่งในประเทศ
มาเลเซียเป็นรัฐโบราณ รัฐแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเอาอิสลามขึ้นมาเป็นศาสนาประจำรัฐ และมีอิทธิพลภายในราชสำนักของอาณาจักรมะละกอภายหลังการได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 1957 มาเลเซียได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของมาเลเซียให้เป็นไปตาม ระบอบของอิสลาม ความพยายามเหล่านี้เริ่มเด่นชัดในช่วงทศวรรษ 1970 หรือชื่อเรียกปรากฏการณ์ในครั้งนั้นกันอย่างทั่วไปว่า การเคลื่อนไหวในการเชิญชวน (หรือว่าปรากฏการณ์ดะวะฮ) เป็นช่วงเวลาที่การทำงาน การเผยแพร่อิสลามมีการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น จากปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวคือ เกิดจากเหตุการณ์วิกฤติน้ำมัน จากการที่ชาติอาหรับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีมติในการลดการส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีมูลค่าที่สูงขึ้นและได้สร้างความมั่งคั่งให้ ผู้ส่งออกน้ำมัน ผลตามมาหลังจากนั้นคือ การให้การสนับสนุนจากชาติอาหรับเกี่ยวกับกิจการทางศาสนา และการสนับสนุนให้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อในประเทศตะวันออกกลาง
การแต่งกาย
ผู้หญิง นุ่งโสร่งปาเต๊ะสีสดมีลวดลายดอกดวงงาม สวมเสื้อคอยูแขนยาวถึงข้อมือ ปล่อยชายเสื้อไว้นอกโสร่ง บางคนจะมีผ้าบาง ๆ คลุมศีรษะ คลุมไหล่ ชาวมาลายูชอบใช้เสื้อผ้า สีสดใสมีลวดลาย ใบไม้ดอกไม้โต ๆ สลับสีกัน ชาวจีนแต่งกายแบบจีนเรียกว่า “กี่เพ้า” หรือ “ฉ่งชำ” ทำด้วยผ้าเป็นดอกดวง ฉูดฉาด
ชาย นุ่งโสร่งเป็นตา และสวมเสื้อแขนยาว บางคนสวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ คนแก่มัก มีผ้าห้อยไหล่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น